สถาบัน BE Management Coach: Inspiring You to BE the BEST!

ทีมเวิร์ค (Termwork) หัวใจสำคัญ เพื่อการไปสู่เป้าหมาย
แล้วจะสร้าง “ทีม” ยังไงให้ “เวิร์ค”?
: โค้ชบี ขนิษฐา สถาบัน BE Management Coach

สร้าง ทีมเวิร์ค ด้วยการโค้ชแบบกลุ่ม/ทีม โค้ชบี ขนิษฐา

ทีมเวิร์ค (Termwork) หัวใจสำคัญ เพื่อการไปสู่เป้าหมาย
แล้วจะสร้าง “ทีม” ยังไงให้ “เวิร์ค”?
: โค้ชบี ขนิษฐา สถาบัน BE Management Coach

การสร้าง ทีมเวิร์ค โดยใช้ ทักษะการโค้ช และ กระบวนการโค้ช ในรูปแบบ การโค้ชแบบกลุ่ม หรือ โค้ชแบบทีม Group Coaching / Team Coaching จากโค้ชที่รับรองโดย สหพันธ์โค้ชนานาชาติหรือ ICF เป็นอีกหนึ่งเครื่องมือในการ สร้างทีมที่เวิร์ค:โค้ชบี ขนิษฐา สถาบัน BE Management Coach

ทีมเวิร์ค สร้างได้ด้วย การโค้ชกลุ่ม หรือการโค้ชทีม โดยโค้ชบี ขนิษฐา
ทีมเวิร์ค สร้างได้ด้วย การโค้ชกลุ่ม หรือการโค้ชทีม โดยโค้ชบี ขนิษฐา

“ทีมเวิร์ค” สร้างได้ด้วย การโค้ช จริงหรือ?

งานโค้ชผู้บริหาร ที่บีไปทำให้กับ ลูกค้าองค์กร แต่ละงานก็จะมี การกำหนดวัตถุประสงค์ ของการโค้ชต่างๆ กันไป ดังที่บีเคยเล่าให้ฟังถึง กระบวนการ ขั้นตอนงาน โค้ชผู้บริหาร  ให้ทุกท่านได้ทราบ ไปก่อนหน้านี้แล้วนะคะ … เรื่องการสร้าง “ทีมเวิร์ค” ก็เป็นอีกเรื่องนึง ที่บีไปช่วยโค้ช ให้กับผู้บริหารหลายๆท่านค่ะ


ผู้นำส่วนใหญ่ เป็นผู้ที่มีความรู้ความสามารถ และประสบความสำเร็จ มาแล้วในหลายๆ เรื่อง แต่บางครั้ง ในการบริหารทีมงาน ที่มีความแตกต่าง หลากหลาย ทั้งความรู้ ประสบการณ์ ความคิด ทัศนคติ รวมถึงวัย ซึ่งปัจจุบันนี้ อาจมีบุคลากรในทีม คละกันถึง 3 เจนเนอเรชั่น ทำให้มีความท้าทาย ในการบริหารงาน บริหารทีม มากขึ้นไปอีก

หนังสือ The FIVE DISFUNCTIONS of a TEAM เขียนโดย Patrick Lencioni ได้กล่าวถึง
“5 จุดบอดที่ทำให้ คนในทีมคุณ ทำงานด้วยกันไม่ได้” ลองมาเช็คกันดูนะคะ ว่าทีมเราเป็นแบบนี้มั๊ย ???


1. “ขาดความเชื่อใจ” ระหว่างสมาชิกในทีม ปกปิดข้อมูล ความคิด ความรู้สึกระหว่างกัน

2. “กลัวความขัดแย้ง” เนื่องจากไม่เชื่อใจกัน จากข้อ 1 สมาชิกในทีม จึงพูดคุยอย่างระมัดระวัง ไม่แสดงความคิดเห็น ที่แท้จริงออกมา

3. พอไม่แย้งไม่ค้านกัน นอกจากจะไม่เกิดผลงานสร้างสรรค์ใหม่ๆแล้ว ก็ยังไม่ยอมรับ ในการตัดสินใจของทีม จะได้ “ไม่ผูกมัดตัวเอง” หรือ ไม่หือ ไม่อือ นั่นเอง

4. เมื่อไม่ผูกมัดตัวเอง ในการทำงานร่วมกัน เมื่อเกิดปัญหาอะไรขึ้น สมาชิกในทีมก็จะ “ไร้สำนึกรับผิดชอบ” ร่วมกัน ไม่มีใครกล้าเตือนใคร ตัวใครตัวมันดีกว่า

5. การไร้สำนึกรับผิดชอบร่วมกัน ก็จะก่อให้เกิดความ “ไม่ใส่ใจในผลลัพธ์” ของทีม แต่จะให้ความสำคัญ ที่ความต้องการของตัวเอง เพียงอย่างเดียว เช่น ความก้าวหน้า ในหน้าที่การงาน การได้รับการยอมรับ ไม่สนใจเป้าหมายโดยรวมของทีม

ทั้ง 5 ข้อนี้ ท่านที่เป็นผู้นำ สามารถเป็น “ต้นแบบ” ที่ดีให้แก่ทีมได้ โดยเริ่มต้นตั้งแต่ข้อแรก ที่สำคัญที่สุด คือการสร้าง Trust หรือความเชื่อใจ ที่เชื่อมโยงไปสู่ การแก้ปัญหา อีก 4 เรื่อง..

โดยสร้างความสัมพันธ์ที่ดีต่อกัน ผ่านการสื่อสารกันบ่อยๆ ทั้งแบบไม่เป็นทางการ และแบบมีแบบแผน เช่น การประชุมประจำสัปดาห์/เดือน/ไตรมาส กำหนดเป้าหมาย หรือผลลัพธ์ที่จับต้องได้ และมีการติดตามผล เพื่อสร้างทีมที่แข็งแกร่ง และ มีประสิทธิผลร่วมกันค่ะ


การโค้ชแบบกลุ่ม หรือ การโค้ชแบบทีม  Group Coaching / Team Coaching ก็เป็นอีกเครื่องมือนึง ที่สามารถช่วยทีมงานต่างๆ ในองค์กร เพื่อหาแนวทาง ให้บรรลุเป้าหมายร่วมกัน ได้อย่างดียิ่งขึ้นค่ะ

Testimonials ตัวอย่างความประทับใจและผลลัพธ์ที่ได้จาก การโค้ชแบบกลุ่ม/ทีม…

“ประโยชน์ที่ได้รับจากการโค้ชกลุ่ม Talent คือ
1) ทุกคนในทีมมีความเชื่อมั่นในศักยภาพของตัวเองมากขึ้นพร้อมรับความท้าทายใหม่ๆ
2) ความสัมพันธ์ในทีมงานมีมากขึ้น มีความเป็นมืออาชีพ (จิตผู้ประกอบการ) มากขึ้น
3) ทำให้เข้าใจว่าทุกๆคนสามารถเป็นโค้ชให้กับคนอื่นได้ด้วยกัน “ฟังและตั้งคำถาม” ครับ”

– คุณมนูญ ขันธุรา Assistant Department Manager – Discrete Production HQ., ROHM Integrated Systems Thailand

สอบถามรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ >>  



สำหรับท่านที่ต้องการ เรียนรู้และฝึกฝน ทักษะการโค้ช และ กระบวนการโค้ช เพื่อนำไปใช้ โค้ชกลุ่ม หรือ โค้ชทีมงานของท่าน หรือ พัฒนาภาวะผู้นำ พัฒนาชีวิตในทุกด้าน สื่อสารสร้างความเข้าใจ นำไปสู่ความสุข และความสำเร็จใน “งาน” และใน “ชีวิต” ที่มากยิ่งขึ้น 

สถาบัน Be Management Coach ขออนุญาตประชาสัมพันธ์ หลักสูตรประกาศนียบัตรโค้ชมืออาชีพ 60 ชั่วโมงตามมาตรฐานการโค้ชสากล “BE Positive Professional Coaching Program” อนุมัติหลักสูตรโดย สหพันธ์การโค้ชนานาชาติ (ICF)
ในแบบ ACSTH – Approved Coach Specific Training Hours

สอบถามรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ >>  

Share

รับข้อมูลข่าวสารบทความทางอีเมล

เข้าสู่ระบบ

สมัครสมาชิกสำหรับศิษย์เก่า