Employee Engagement สร้างด้วยการโค้ช “แล้วพี่จะสร้างได้ยังไงบ้างคะโค้ชบี? เรายังไม่ค่อยรู้จัก หรือ อบรมเรื่อง การโค้ช มาเลยค่ะ” มีคำถามจากพี่ผู้บริหาร HR องค์กรขนาดใหญ่แห่งนึง …
ว่ามีโจทย์ต้องเร่งสร้าง Engagement ให้พนักงานมีความรักความผูกพันในองค์กรมากยิ่งขึ้น ลดอัตราการลาออก … โดยก่อนหน้านี้ ได้ว่าจ้างบริษัทที่ปรึกษาข้ามชาติชื่อดังด้าน HR มาให้คำแนะนำ ซึ่งในรายงานสรุปผลบอกไว้ว่า“จำเป็นต้องพัฒนาให้ผู้บริหาร/หัวหน้างาน มีทักษะการโค้ช!!!” เป็นหนึ่งในข้อเสนอแนะที่บริษัทที่ปรึกษาได้บอกไว้ หากต้องการลดอัตราการลาออก และทำให้พนักงานมีความสุขในการทำงานมากยิ่งขึ้น …
Employee Engagement ในองค์กร ที่นำ การโค้ชไปช่วยสร้างนั้น เป็นเรื่องที่ทำได้จริงในหลายองค์กรชั้นนำ ทั้งในต่างประเทศและในประเทศไทยค่ะ โดยมีรายงานผลการสำรวจจาก สหพันธ์การโค้ชนานาชาติ ICF เป็นเครื่องยืนยันในเรื่องนี้ …
องค์กรที่สนใจ ควรเริ่มต้นทำความเข้าใจ “ความหมายของการโค้ช และการใช้เครื่องมือการโค้ชนี้ในการบริหารทีมงานและองค์กร” โดยผู้บริหารระดับสูง หรือผู้บริหารของฝ่าย HR เป็นคนกลุ่มแรกที่ต้องทำความเข้าใจ ศึกษา เรียนรู้และฝึกฝนการโค้ช (Training) หรือได้รับประสบการณ์ตรงจากการโค้ช (1-on-1 หรือ Group/Team Coaching) … จากประสบการณ์ที่บีเคยพบมา หากองค์กรใด จัดฝึกอบรมเรื่องการโค้ชให้กับหัวหน้างาน เพียงอย่างเดียว โดยไม่ได้วางแผนการฝึกอบรมแบบภาพรวมทั้งองค์กร อาจยากที่จะผลักดันให้เกิดการใช้เครื่องมือการโค้ชกันอย่างจริงจังในองค์กรได้ค่ะ
เครื่องมือการโค้ชที่องค์กรจะนำไปใช้ในการพัฒนาองค์กร (Organization Development) โดยเฉพาะอย่างยิ่ง ในการเสริมสร้าง Employee Engagement นั้น มีตัวอย่างเครื่องมือหลักๆ ดังต่อไปนี้
- การโค้ชแบบตัวต่อตัว หรือ 1-on-1 Coaching: เป็นการพัฒนาศักยภาพของผู้บริหารรายบุคคล โดยเป้าหมายการโค้ชนั้น จะเป็นวัตถุประสงค์ที่มาจากทั้งโจทย์/เป้าหมายองค์กร และเป้าหมายการโค้ชส่วนบุคคลของผู้บริหารท่านนั้นๆ ซึ่งจะส่งผลโดยตรงต่อการทำงานในองค์กร เช่น การบริหารอารมณ์ ความสามารถในการตัดสินใจ เป็นต้น โดยทั่วไป โปรแกรมการโค้ชตัวต่อตัว จะใช้ระยะเวลาประมาณ 6 เดือน และมีการวัดผลกันตามที่กำหนด
- การโค้ชกลุ่ม (Group Coaching): ในการโค้ชกลุ่ม เป็นกลุ่มคนที่มาจากหลากหลายหน่วยงาน (ไม่เกิน 15 ท่าน) มาพูดคุยแลกเปลี่ยนกัน ใช้พลังของกลุ่ม เพื่อบรรลุวัตถุประสงค์บางอย่างร่วมกัน (เช่น ผู้จัดการฝ่ายทุกฝ่าย 10 คน – หัวข้อในการโค้ชกลุ่มคือ การสร้าง Employee Engagement) โดยมีโค้ชเป็นผู้นำกระบวนการ… ในกระบวนการโค้ชกลุ่มนั้น ผู้ที่เป็นโค้ช จำเป็นต้องมีทักษะการอำนวยการประชุม (หรือ Facilitation Skill) นอกเหนือไปจากทักษะและกระบวนการโค้ชที่ใช้ในการโค้ชแบบตัวต่อตัว โดยโค้ชจะต้องกำหนดกฎ กติกา มารยาท (Ground Rules) ในเซสชั่นการโค้ชกลุ่ม ว่าอะไรที่ทำได้/ทำไม่ได้ (เช่น ในระหว่างการโค้ช ห้ามรับโทรศัพท์/ห้ามใช้คอมพิวเตอร์) การเปิดโอกาสให้กับทุกคนได้แสดงความคิดเห็น การต่อยอดความคิดเห็นเพื่อดึงศักยภาพของกลุ่ม ในตอนท้ายของการโค้ช จะมีการสรุป Action Plan หรือแผนงาน รวมถึงผู้รับผิดชอบ ระยะเวลาที่กำหนด เพื่อใช้ในการติดตามผลครั้งต่อไป … หลังจากนั้น ทุกคนก็แยกย้ายกันกลับไปทำตามแผนงานที่ได้รับมอบหมาย
- การโค้ชทีม (Team Coaching): ทักษะและกระบวนการที่ใช้จะคล้ายกับการโค้ชกลุ่ม แตกต่างกันเฉพาะกลุ่มคนที่เข้าร่วม Team Coaching นี้ จะเป็นคนที่มาจากทีมเดียวกัน (ไม่เกิน 15 ท่าน) มีเป้าหมายร่วมกัน เช่น ทีม HR, ทีม Sales เป็นต้น ในการทำ Team Coaching จะช่วยสร้างเข้าใจกันมากยิ่งขึ้นในทีม แชร์ข้อมูล ประเด็นปัญหาที่ประสบมาจากการทำงานในบทบาทคล้ายๆ กัน ได้ประโยชน์จากการต่อยอดความคิดกันได้ดียิ่งขึ้น … และสุดท้าย เมื่อมี Action Plan หรือแผนลงมือปฏิบัติ ก็จะระบุผู้รับผิดชอบและกรอบเวลากันอย่างชัดเจน เพื่อใช้ในการติดตามผลต่อไป
- การฝึกอบรมเรื่องการโค้ช (Coaching Training) : การฝึกอบรมเรื่องการโค้ช เหมาะสำหรับจัดให้กับผู้บริหารหรือหัวหน้างาน ประมาณ 20-30 ท่าน เพื่อเรียนรู้หลักการและฝึกฝนการโค้ช … หลักสูตรส่วนใหญ่ที่บีไปจัดให้องค์กรต่างๆ จะใช้เวลาอย่างน้อย 2 วัน เนื่องจากไม่เป็นเพียงการเรียนรู้ทฤษฎี แต่การโค้ชจะเน้นเรื่องทัศนคติ ในการมองเห็นถึงศักยภาพของตนเองและผู้อื่น และจำเป็นต้องมีการฝึกฝนในทักษะย่อยต่างๆ เช่น การฟังเชิงลึก การสะท้อนกลับ การตั้งคำถามทรงพลัง การตั้งเป้าหมาย การติดตามผล ฯลฯ บางองค์กร ได้ให้สถาบัน BE Management Coach ไปจัดฝึกอบรมและติดตามผลให้อีกหลายครั้ง … โดยหากเป็นการเรียนรู้แบบ 7 วัน รวมการทำการบ้านฝึกฝนการโค้ชเพิ่มเติม รวมเป็น 60 ชั่วโมง สถาบัน BE Management Coach สามารถจัด หลักสูตรประกาศนียบัตรโค้ชมืออาชีพ ตามมาตรฐานสากล (อนุมัติหลักสูตรโดยสหพันธ์โค้ชนานาชาติ หรือ ICF ในรูปแบบ ACSTH – Approved Coach Specific Training Hours) และออกใบประกาศนียบัตรให้กับผู้เข้าอบรมทุกท่านได้อีกด้วยค่ะ
ท้ายที่สุดแล้ว Employee Engagement จะเกิดขึ้นได้ ก็ด้วยความมุ่งมั่นตั้งใจจริงของผู้บริหารทุกท่าน มีวิสัยทัศน์ เปิดรับการเรียนรู้ใหม่ๆ เป็นคนต้นแบบ และแสดงให้พนักงานทุกคนเห็นอย่างจริงใจ นำทักษะการโค้ชมาปรับใช้ในชีวิตประจำวัน ในการสื่อสารกับพนักงานในเชิงบวก บริหารงานอย่างมีเป้าหมายชัดเจน มีกระบวนการติดตามผลที่เป็นรูปธรรม … เมื่อพนักงานมีความสุข ก็จะส่งผลให้เกิดความรักความผูกพัน และความยั่งยืนขององค์กรในที่สุด
การเรียนรู้
“BE Positive Professional Coaching Program” อนุมัติหลักสูตรโดยสหพันธ์การโค้ชนานาชาติ (ICF) ในแบบ ACSTH – Approved Coach Specific Training Hours
เน้นการฝึกปฏิบัติจริง ให้โค้ชได้ผลจริง อ้างอิงมาตรฐานสากล ICF และจิตวิทยาบวก พร้อมทั้ง
- เครื่องมือของผู้นำยุคใหม่ (BE Positive Leadership)
- การโค้ชตามหลักการทำงานของสมอง (Brain-Based Coaching)
- การกำกับดูแลอารมณ์ (Emotional Intelligence)
- เพิ่มเติมเครื่องมือสร้างการหยั่งรู้ (Intuition) หรือเทคนิคการสร้างสมาธิอย่างรวดเร็ว เพื่อผลลัพธ์การโค้ชที่ดียิ่งขึ้น