การเป็น Mentor หนึ่งในเครื่องมือของผู้นำ บทความดีๆสำหรับผู้บริหาร หัวหน้างาน ผู้ที่สนใจหลักสูตรจัดฝึกอบรม เพื่อการพัฒนาตนเองและองค์กร: โค้ชบี ขนิษฐา สถาบัน BE Management Coach
Mentor หรือ การเป็น “พี่เลี้ยง” หนึ่งในเครื่องมือของผู้นำเชิงบวก ต้องทำยังไงบ้าง?
คำว่า “Mentor” หรือ “พี่เลี้ยง” มีต้นกำเนิดมาจากเทพนิยายกรีก ซึ่งกล่าวกันว่า เมื่อครั้งโอเดสซีอุส (Odysseous) กำลังจะออกเดินทางไปเมืองทรอย ได้มอบหมายให้สหายผู้มีนามว่า “Mentor” (เมนเทอร์) ช่วยดูแลบ้านเรือน และสอนวิชาแก่บุตรชายของตนที่ชื่อเทเลมาชุส (Telemachus) .. “หากท่านนมีวิชาอะไร ก็ช่วยสั่งสอนหลานให้หมดไส้หมดพุงเลยละกัน” ถือเป็นการกำหนดขอบเขตให้กับการเป็นพี่เลี้ยงไปโดยไม่รู้ตัว … จึงเป็นที่มาของคำว่า Mentor ที่เราใช้กันอยู่ในทุกวันนี้
การเป็นพี่เลี้ยง คือความสัมพันธ์ระหว่างคนสองคนโดยมีเป้าหมายในการพัฒนาวิชาชีพและส่วนบุคคล “พี่เลี้ยง” หรือ “Mentor” เป็นผู้ที่มีประสบการณ์ซึ่งแบ่งปันความรู้ประสบการณ์และคำแนะนำกับผู้มีประสบการณ์น้อยกว่า หรือที่เรียกว่า “น้องเลี้ยง” หรือ “Mentee” … ผู้ที่เป็นพี่เลี้ยง ไม่จำเป็นต้องเป็นหัวหน้าเท่านั้น ในปัจจุบัน หากเพื่อนร่วมงานในระดับเดียวกัน (Peer) หรือลูกน้อง ก็สามารถทำหน้าที่เป็นพี่เลี้ยง เพื่อสอนทักษะงานบางอย่างที่มีความเชี่ยวชาญ เช่น เทคโนโลยีใหม่ๆ งานหรือโครงการเฉพาะกิจที่เคยทำ ให้แก่เพื่อนร่วมงานหรือหัวหน้าได้ (การเป็นพี่เลี้ยงให้หัวหน้า เรียกว่า Reversed Mentoring)
การเป็นพี่เลี้ยงสอนงานน้องๆ ฟังดูเหมือนเป็นเรื่องง่าย แต่ทำไมบางครั้งน้องๆ ทีมงานถึงปฏิบัติตามไม่ได้ หรือไม่ถูกต้องครบถ้วนตามที่เราสอนไปล่ะ .. มันคงต้องมีขั้นตอนที่ทำให้การเป็นพี่เลี้ยง มัน Work สิ .. ลองมาดูขั้นตอนการเป็นพี่เลี้ยงที่มีตัวย่อแบบที่จำกันได้ง่ายๆ M-E-N-T-O-R ได้แก่ กระตุ้น-สำรวจ-สังเกต-คาดการณ์-วางแผนงาน-ทบทวน
พี่เลี้ยง (Mentor) กระตุ้นน้องเลี้ยง (Mentee) โดยการแบ่งปันประสบการณ์ตรงที่พี่เลี้ยงเคยประสบมาในเรื่องคล้ายๆ กัน และอาจเล่าถึงไอเดีย วิธีการ ทางเลือกต่างๆ ที่เคยใช้มาเพื่อแก้ปัญหา หรือทำงานในเรื่องนั้นๆ
พูดคุยกันถึงไอเดีย วิธีการ และสถานการณ์ต่างๆ ที่อาจเป็นไปได้ในเรื่องนี้
พี่เลี้ยงคอยสังเกตปฏิกิริยาโต้ตอบของน้องเลี้ยง และระดับความพยายามในการคิดหาวิธีการหรือทางเลือกที่เหมาะสมในการแก้ไขปัญหา
วิเคราะห์และคาดการณ์ผลกระทบที่อาจเกิดขึ้นจากทางเลือกต่างๆ เพื่อใช้ประกอบการเลือกวิธีที่เหมาะสมที่สุด
ร่างแผนเพื่อนำไปปฏิบัติจริงในการทำงาน หรือแก้ไขปัญหาเรื่องนี้
ทบทวนสิ่งที่ได้เรียนรู้จากการพูดคุยกัน และประโยชน์ที่ได้รับจากการคุยกับพี่เลี้ยง