สวัสดีค่ะทุกท่าน ช่วงนี้เราคงได้ยินคำว่า “New Normal” กันอยู่บ่อยๆ ตามสื่อต่างๆ แทบทุกวันนะคะ วันนี้เรามาพูดคุยเรื่องนี้กันดีมั๊ยคะ
คำว่า New Normal เป็นคำศัพท์ทางธุรกิจและเศรษฐศาสตร์ ที่ถูกนำมาใช้ครั้งแรกในปี ค.ศ.2008 ในช่วงวิกฤตการณ์ทางการเงินของสหรัฐอเมริกา ที่เรารู้จักกันในชื่อ วิกฤติแฮมเบอร์เกอร์ ซึ่งทำให้เกิดภาวะเศรษฐกิจถดถอยทั่วโลกในช่วงปี ค.ศ.2008-2012
โดยปกติแล้ว วิกฤตเศรษฐกิจจะมีรูปแบบค่อนข้างชัดเจนคือ เมื่อเติบโตไปได้ระยะหนึ่งจะมีปัจจัยทำให้เกิดฟองสบู่ พอวิกฤตผ่านพ้นไปเศรษฐกิจก็จะเริ่มฟื้นตัว และกลับมาเติบโตได้อีกครั้งในเวลาไม่นาน แต่สิ่งที่เกิดขึ้นหลังจากวิกฤตแฮมเบอร์เกอร์ ก็คือ เศรษฐกิจโลกไม่สามารถกลับไปเติบโตได้ดีแบบเดิมอีก เนื่องจากปัจจัยต่างๆ เช่น การพยายามกระตุ้นเศรษฐกิจมากเกินไปทั้งที่บางประเทศมีหนี้สาธารณะสูงมาก
ล่าสุดราชบัณฑิตยสภาได้บัญญัติศัพท์ New Normal ว่าคือ “ความปกติใหม่ ฐานวิถีชีวิตใหม่ หมายถึง รูปแบบการดำเนินชีวิตอย่างใหม่ที่แตกต่างจากอดีต อันเนื่องจากมีบางสิ่งมากระทบ จนแบบแผนและแนวทางปฏิบัติที่คนในสังคมคุ้นเคยอย่างเป็นปกติและเคยคาดหมายล่วงหน้าได้ต้องเปลี่ยนแปลงไปสู่วิถีใหม่ภายใต้หลักมาตรฐานใหม่ที่ไม่คุ้นเคย”
ดังนั้น New Normal ในความหมายตอนนี้ ก็คือ วิถีชีวิตปกติแบบใหม่ ที่ผู้คนบนโลกต้องปรับตัวให้รอดพ้นจาก COVID-19 นั่นเอง ตัวอย่างที่เห็นได้ชัดที่สุดตอนนี้ คือ Social Distancing หรือการรักษาระยะห่างทางสังคม เราต้องทำงานกันที่บ้าน หรือ Work From Home เราต้องเว้นระยะห่าง 1-2 เมตร ในการยืนเข้าแถว การรับประทานอาหารในร้าน การติดต่อทำธุรกรรมต่างๆ ระหว่างคนสองคนขึ้นไป และโดยเฉพาะอย่างยิ่ง การสวมหน้ากากอนามัย หรือใส่ face shield
ทีนี้เจ้า New Normal เนี่ย มันเกี่ยวข้องยังไงกับเราทุกคนบ้าง และเราจะอยู่เฉยๆ ค่อยๆ ยอมรับมัน เพราะเดี๋ยวก็คงคุ้นชินไปเอง หรือเราต้องลงมือทำอะไรบางอย่างดี ??!!
ผลกระทบจากการแพร่ระบาดของเจ้าโควิดในครั้งนี้ ทำให้หลายธุรกิจบนโลกใบนี้ถึงขั้นล้มหายตายจากไปเลยก็มี มีคนตกงานกะทันหันหลายล้านคน .. หลายธุรกิจสามารถกลับผงาดขึ้นมาใหม่อีกครั้งจากการพลิกวิกฤตเป็นโอกาส ในขณะที่อีกหลายธุรกิจมีทีท่าว่าจะไปไม่รอด ถ้าไม่รีบปรับตัวรับกับสภาพเศรษฐกิจ สังคม และพฤติกรรม New Normal ของผู้บริโภคที่อาจจะเปลี่ยนแปลงไปอย่างถาวร … ผู้นำเชิงบวกทุกคน ไม่ว่าคุณจะเป็นผู้นำธุรกิจ องค์กร ชุมชน หรือแม้แต่ผู้นำครอบครัว จำเป็นอย่างยิ่งที่จะต้องปรับตัวให้อยู่รอดได้ ในทุกสถานการณ์…
อย่าถามว่าโควิดจะจบเมื่อไหร่ แต่ให้ถามว่า เราเตรียมพร้อม “หลังโควิด” ไว้ยังไงบ้าง???
7 พฤติกรรมที่ผู้นำ (เชิงบวก) ควรทำ เพื่อให้ไปต่อใน New Normal…
- Resilient Mindset – มีหลักคิดแบบยืดหยุ่น ล้มแล้วลุกได้เร็ว เชื่อว่าทุกปัญหามีทางออก ทุกวิกฤติมีโอกาส ทุกอย่างจะเปลี่ยนแปลงไปในทางที่ดีขึ้นได้ ถ้าเราพยายามหาหนทางและลงมือทำ
- Openness to Learn – เปิดหู เปิดตา เปิดใจรับฟัง ข้อมูลข่าวสาร ศึกษาเรียนรู้ หาความเป็นไปได้ โอกาสใหม่ๆ แนวทาง และวิธีการทำงานใหม่ๆ … และเป็นผู้ไม่หยุดการเรียนรู้
- Vision & Belief – มีวิสัยทัศน์และความเชื่อ – ผู้นำ ผู้บริหาร ที่มองโลกในแง่บวก มีภาพความสำเร็จและเป้าหมายที่ต้องการอย่างชัดเจน แม้จะตกอยู่ในสถานการณ์วิกฤติเช่นใด ก็ยังคงมีความเชื่อ มีกำลังใจ และแน่วแน่ในเป้าหมายนั้น แม้เหตุการณ์อาจเปลี่ยนแปลงไป
- Adaptability ปรับตัวเร็ว – มองหาโอกาสใหม่ๆ แล้วลงมือทำ เพื่อให้เห็นผลลัพธ์ หากไม่เวิร์ค ก็พร้อมที่จะเรียนรู้และปรับใหม่ไปจนกว่าจะสำเร็จ
- Emotion Intelligence – รู้เท่าทันอารมณ์ และปรับใจได้เร็ว – ควบคุมอารมณ์ตนเองได้ ไม่ให้สภาพแวดล้อมภายนอก มากระทบจิตใจภายใน จนส่งผลเสียต่อการทำงานและการดำเนินชีวิต
- Communication – สื่อสารกับทีมงาน สื่อสารกับลูกค้าและผู้เกี่ยวข้องต่างๆ ถึงสถานการณ์ แผนการ วิธีการใหม่ๆ ความร่วมมือร่วมใจที่ต้องการ
- Appreciation & Gratefulness – ชื่นชมให้กำลังใจตนเองและทีมงาน ขอบคุณทุกปัญหา ทุกบทเรียน ขอบคุณความเข้มแข็งของตัวเราเอง และทีมงานทุกคนที่ร่วมกันฟันฝ่าอุปสรรค ให้ผ่านพ้นสถานการณ์ยากลำบากไปด้วยกัน
ข่าวดีค่ะ!!! เราทุกคนสามารถฝึกฝน 7 พฤติกรรมของผู้นำเชิงบวก เหล่านี้ได้ ด้วยการเรียนรู้และฝึกฝนทักษะและกระบวนการโค้ช ตามมาตรฐานสากล (ICF) หลักสูตรที่จะช่วยพัฒนาทั้ง Mindset, Skillset และ Knowledge ใหม่ๆ ให้กับคุณ เพื่อเตรียมพร้อมรับกับทุกสถานการณ์ต่อจากนี้ไป
สำหรับหลักสูตรประกาศนียบัตรโค้ชมืออาชีพ 60 ชั่วโมง มาตรฐานสากล (ICF) ดูรายละเอียดหลักสูตรเพิ่มเติม : “คลิก”